อยู่ในสังคมอย่างไร ให้ห่างไกลความขัดแย้ง

อยู่ในสังคมอย่างไร ให้ห่างไกลความขัดแย้ง

 

            ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ความขัดแย้งบางอย่างทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม แต่ความขัดแย้งก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายเสมอไปเพราะบางครั้งความขัดแย้งก็ช่วยทำให้เกิดการพัฒนาหรือทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไข

สาเหตุของความขัดแย้ง

            เมื่อคนเรามาอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมเจอความขัดแย้งเสมอ ความคิดที่แตกต่างสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน ทำให้คนเรามีความแตกต่างกันเมื่อมาอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการทำงานในองค์กรซึ่งเป็นสังคมเล็กๆมักเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

            1.ความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ของส่วนรวม

            2.ความขัดแย้งที่เกิดจากการถือเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่

            3.ความขัดแย้งที่เกิดจากทัศนคติและแนวคิดที่ไม่ตรงกัน

            4.ความขัดแย้งที่เกิดจากบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน

            5.ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการขาดสติ

อยู่ในสังคมอย่างไร ให้ห่างไกลความขัดแย้ง

            ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นในใจทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด และในบางครั้งความขัดแย้งก็ไม่มีผิดมีถูกเพราะเกิดขึ้นจากการขาดสติ ขาดความยั้งคิดและปราศจากเหตุผล การอยู่ในสังคมให้ห่างไกลจากความขัดแย้งต้องอาศัยหลักธรรมมะเป็นแนวปฏิบัติดังนี้

1.       พัฒนาจิตโดยฝึกทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีความสงบมั่นคง มีความยั้งคิด และใจเย็นลง

2.       ลดความขัดแย้งด้วยการยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่เป็นตัวตัดสิน

3.       เมื่อเกิดความขัดแย้ง ต้องกล้าการเผชิญหน้ากันเพราะความขัดแย้งไม่ใช่ความแตกแยก ฝ่ายที่ขัดแย้งกันสามารถพูดคุยทำความเข้าใจหรือร่วมปรึกษาหารือเพื่อที่หาข้อยุติได้

4.       ความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดสติ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งควรเลือกที่จะนิ่งหรือหลีกหนี เพื่อลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อใจเย็นลงหรือมีสติได้คิดทบทวนแล้วการเผชิญหน้าเพื่อทำความเข้าใจกัน เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

 

ดังนั้น การอยู่ในสังคมให้ห่างไกลจากความขัดแย้งจึงต้องมีสติอยู่เสมอ เพราะความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถรู้ทันและป้องกันปัญหาความขัดแย้งไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้